เอกสารสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ.2369
หน้าแรกมีลายเส้นเจ้าของเก่า มีตราปั๊มศูนย์หนังสือ
มีจุดเหลืองนิดๆหน่อย โดยรวม สภาพดี
ในเรื่องนี้(ความมีอยู่จริงของ ท้าวสุรนารี) เป็นประเด็นถกเถียงอย่างกว้างขวางในปี พ.ศ. 2536 เมื่อหนังสือการเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ถูกตีพิมพ์ซึ่งหนังสือดังกล่าวปรับปรุงจากวิทยานิพนธ์เรื่อง “ภาพลักษณ์ท้าวสุรนารีในประวัติศาสตร์ไทย” โดย สายพิน แก้วงามประเสริฐ นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยานิพนธ์ดีเด่นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เรื่องนี้ ได้นำเสนอหลักฐานอย่างรอบด้านว่าคุณหญิงโมไม่น่าจะมีตัวตนอยู่จริง พร้อมทั้งตั้งคำถามว่าวีรกรรมต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นจริงหรือไม่ รวมทั้งการสร้างเร่งรีบสร้างอนุเสาวรีย์นั้นเพื่อประโยชน์ทางการเมืองในสมัยจอมพล ป. หรือไม่ การตั้งคำถามที่ท้าทายความเชื่อของคนในพื้นที่ ทำให้ผู้เขียนถึงขนาดถูกข่มขู่เอาชีวิตและห้ามเข้าจังหวัดนครราชสีมา
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีหลักฐานชัดเจนที่ชี้ว่าเกิดการต่อสู้ระหว่างชาวนครราชสีมาและกองกำลังลาวขึ้นจริง และส่งผลให้เจ้าอนุวงศ์ต้องถอยทัพจากโคราชก่อนกำหนด ถึงกระนั้น ตามทัศนะของ ร.ศ.ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม วีรกรรมที่ทุ่งสัมฤทธิ์อาจเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นภายหลัง โดยมีฉากหลังเป็นวีรกรรมของการร่วมแรงร่วมใจสู้รบของชาวนครราชสีมา โดยความจริงแล้ว ท้าวสุรนารี เป็นบุคคลที่เป็นผู้นำทางวัฒนธรรม เป็นบุคคลที่ชาวบ้านให้การยอมรับนับถือ จึงมีการแต่งเรื่องราวขึ้นภายหลัง เช่นเดียวกับพญาแถนของประเทศลาว เป็นต้น แต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็มีเรื่องเล่าถึงวีรกรรมของท้าวสุรนารีอย่างแพร่หลายแล้ว ซึ่งงานวิจัยของสายพิณ แก้วงามประเสริฐกลับละเลยที่จะกล่าวถึงประเด็นดังกล่าว…(คัดลอกบางส่วนจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)